สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน ในบทความนี้ ผมอยากขอสรุปประเด็นสำคัญๆ ของ ก.ล.ต.ประเทศไทย ที่มีต่อการซื้อขายสัญญาไบนารี่ออฟชั่น ซึ่งผมเห็นว่า ข้อความเห็นของหน่วยงานรัฐซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลด้านการลงทุน โดยตรงในประเทศไทย มีความห่วงใยต่อสวัสดิภาพและการเงินของเรา จึงได้ทำความเห็นสำคัญๆ ไว้หลายกรณี ซึ่งผมรวบรวมมาให้อ่านและอัพเดทล่าสุด เวอร์ชั่นปี 2024 มีรายละเอียดดังนี้
ข้อสรุปเกี่ยวกับสัญญาไบนารี่ออฟชั่นในประเทศไทย |
---|
1️⃣ ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุม ก.ล.ต.ประเทศไทย แม้ว่าทุกคนจะเห็นคำว่า option ต่อท้ายสัญญา binary ส่งผลให้อ่านได้ความว่าเป็น binary option และมีลักษณะสัญญาเสมือนเป็นตราสารอนุพันธุ์ แต่สัญญาดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.ประเทศไทย สาเหตุ เพราะ ไม่ได้เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า |
2️⃣ ผู้ให้บริการทั้งหมดอยู่นอกประเทศไทย จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่าผู้ให้บริการสัญญา binary option ทั้งหมด อยู่นอกประเทศไทย ดังนั้นการที่โบรกเกอร์ดังกล่าวจะได้รับอนุญาตหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ก.ล,ต.ประเทศนั้นๆ |
3️⃣ เสี่ยงต่อการโดนหลอกลวง เนื่องจากการซื้อขายสัญญา binary option เป็นการกระทำบนแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกสืทั้งหมด จึงมีความเสี่ยงสูงสุด ที่เทรดเดอร์จะถูกหลอกลวงเงิน |
4️⃣ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับไบนารี่ออฟชั่น ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาายใด ๆ ที่รับรองสถานะการเทรดไบนารี่ออฟชั่นทุกกรณี ดังนั้นผู้เทรดจะต้องรับความเสี่ยงจากผลเสียหายที่เกืดขึ้นจากการเทรดไบนารี่ออฟชั่นด้วยตนเองเท่านั้น |
5️⃣ เทรดเสียหายหรือถูกโกง ดำเนินคดีกับโบรกเกอร์ไม่ได้ หากเทรดเดอร์ถูกโกง หรือได้รับความเสียหายจากโบรกเกอร์ดังกล่าว จะไม่สามารถฟ้องร้องผ่านหน่วยงานในประเทศไทยได้ ยกเว้นดำเนินการฟ้องร้องต่อหน่วยงานอนุญาโตตุลาการที่ทางโบรกเกอร์นั้น ๆ ได้มีพันธสัญญาอยู่ อาทิเช่น FinaCom เป็นต้น |
6️⃣ Case ร้องเรียนคือถูกชักชวนลงทุนเท่านั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง คำว่า “ชักชวนลงทุน” หมายถึง ชวนให้เอาเงินมาลงทุนกับตัวแทน และตัวแทนนำเงินดังกล่าวไปเทรดให้จนเกิดความเสียหาย แต่การเทรดผ่านรหัสแนะนำประเภท affiliate หรือ IB ไม่เข้าฐานความผิดในข้อชักชวนลงทุน สาเหตุเพราะเป็นการสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานบัญชีทดลองเท่านั้น ไม่มีการสมัครเพื่อเปิดบัญชีจริงแต่อย่างใด |
เอกสารอ้างอิง |
---|
ข้อมูลอ้างอิง: https://law.sec.or.th/content/4239 |